วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ต้นกระเพรา

กระเพรา
ชื่ออื่นๆ :กระเพราแดง  กระเพราขาว  ก่ำก้อขาว  ก่ำก้อดำ  กอมก้อขาว  กอมก้อดำ  ห่อตูปลู  ห่อกวอซู
ชื่อสามัญ :Ocimum
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ocimum sanctum Linn.
วงศ์ :Labiatae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุกอายุยืน แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 30 - 80 ซม. โคนลำต้นมีเนื้อไม้แข็ง กิ่งอ่อนสีเขียวและมีขน  ใบเป็น ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ทรงใบรูปรี ขนาดประมาณ 2X4 ซม. ปลายและโคนใบมนแหลม ขอบใบเป็นจักรและเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ที่ปลายยอด ยาวประมาณ 8 - 10 ซม.  ดอกย่อย มีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.  ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก  เมล็ด ขนาดเล็ก รูปไข่สีน้ำตาลดำ
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ บำรุงธาตุไฟ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ต้นโคกกระออม

โคกกระออม
ชื่ออื่นๆ :โพออม  ลูบลีบเครือ  วีวี
ชื่อสามัญ :Ballon vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cardiospermum halicacabum L.
วงศ์ :Sapindaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้เถาเลื้อยพันโดยใช้หนวดเกาะกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกล้ๆ สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 ม. ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปใบหอก ปลายแหลมโคนมน ขอบใบเป็นจัก ผิวใบทั้งสองด้านมีขนขนาดเล็กสั้นสีขาวเกาะติดกระจายห่าง ดอกออกเป็นช่อ ดอกสมบูรณ์เพศสีขาว ผลรูปสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนผิวเป็นลายเส้น ด้านในกลวง เมื่อสุกผิวผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลและแฟบลง เมล็ดมี 3 เมล็ด ทรงกลม เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ แก้หืด ขับปัสสาวะ น้ำคั้นจากใบสด ขับระดู แก้ไอ
เถา แก้ไข้
ดอก ขับประจำเดือน
ผล ตำพอกดับพิษไฟลวก
ทั้งต้น แก้โรคไขข้ออักเสบ

ดอกโคกกระสุน

โคกกระสุน
ชื่ออื่นๆ :หนามกระสุน
ชื่อสามัญ :Caltrops
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Tribulus cistoides Linn.
วงศ์ :Zygophyllaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุกเป็นเถาเลื้อยคลุมดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ใบย่อยออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ 5 - 7 คู่ ใบย่อยรูปทรงขอบขนาน ขนาดประมาณ 2.5x6.8 ซม. ปลายใบแหลมมน โคนกลมมนมีเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกออกที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองสด กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ก้านดอกยาว 5 - 10 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกลมมี 4 พู ผิวเป็นหนามแหลมทั้งหมด ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก ทรงกลมเปลือกผลหนาแข็งเป็นหนามแหลม ใน 1 พู มี 2 - 5 เมล็ด
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ผลแห้ง ต้ม ดื่มน้ำ ทำเป็นยาบำรุงตับ ไต กระดูก สายตา แก้ปวดทางเดินปัสสาวะ รักษาหนองใน ขับระดูขาว ช่วยให้คลอดบุตรง่าย ลดความดันโลหิตสูง และช่วยป้องกันอาการชักบางประเภทได้

ลิ้นกระบือ

ลิ้นกระบือ
ชื่ออื่นๆ :กะเบือ กำลังกระบือ
ชื่อสามัญ :Picara
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Excoecaria cochinchinensis Lour.
วงศ์ :Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 - 1.5 ม. แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมนแหลมโคนเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนด้านใต้สีแดง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและแยกเพศ ดอกเป็นเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมียมีเพียง 2 - 3 ดอก ผลทรงกลมมี 3 พู เมื่อแก่จะแห้งแล้วแตกตามพู
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำกิน เป็นยาขับเลือดและน้ำคาวปลาหลังคลอด ประจำเดือนไม่ปกติ แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับโลหิตร้าย แก้สันนิบาตเลือด

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ
ชื่ออื่นๆ :มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว
ชื่อสามัญ :Tamalaki, Hazardana
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllanthus amarus Schum & Thonn.
วงศ์ :Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 ซม. ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.4X1.0 ซม. ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 ซม. ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 ซม. เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.1 ซม.
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ทั้งต้น ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้ทับระดู ไข้จับสั่น) ขับระดูขาว แก้น้ำดีพิการ แก้ดีซ่าน แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้กามโรค แก้ปวดฝี ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย
ต้น มีสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว แก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำบวม
ลูก (ผล) แก้ร้อนใน แก้ไข้
ราก ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง
ชื่ออื่นๆ :อังกาบ
ชื่อสามัญ :Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Trai-no, Toi ting
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ruellia tuberosa Linn.
วงศ์ :Acanthaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :พืชล้มลุกมีอายุยืน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 ซม. ใบเดี่ยวรูปรีและไข่กลับ การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นคู่สลับ ดอกออกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีม่วงน้ำเงิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 ซม. ผลเป็นฝัก เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มยาว 2 - 3 ซม. แห้งแล้วแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแบนมีจำนวนมาก ราก พองเป็นหัวสะสมอาหาร ปลายเรียวแหลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 5 - 10 ซม.
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ราก ทำให้อาเจียน ใช้ดับพิษ แก้ปัสสาวะพิการ
เมล็ด ใช้พอกห้ามเลือด ผื่นคัน

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา
ชื่ออื่นๆ :ชู้ไลบ้อง  ซูเลโบ  เอื้องช้าง  เอื้องต้น  เอื้องเพ็ดม้า  เอื้องใหญ่
ชื่อสามัญ :Spiral flag, Wild ginger, Crepe ginger, Malay ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Costus speciosus Smith
วงศ์ :Zingiberaceae
ถิ่นกำเนิด :อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี
ลักษณะพฤษศาสตร์ :เป็นพืชมีหัวใต้ดิน ลำต้นแข็งกลมอวบน้ำสูงประมาณ 1.5 - 2.5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยวเกาะติดบนกิ่งแบบเวียน  ใบรูปรียาว  ปลายใบเรียวแหลมโคนมน  และมีกาบหุ้มรอบลำต้น  ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านใต้มีขนขนาดเล็กสีขาวอ่อนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ขอบกลีบย่นเป็นคลื่น กลีบประดับสีแดง ผลกลมรีรูปกระสวยส่วนปลายมีกลีบประดับติดอยู่ เมล็ดรูปเหลี่ยมสีดำเป็นมันเงา
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
เหง้า ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง
ราก เป็นยาขม ขับเสมหะ พยาธิ โรคผิวหนัง แก้ไอ
น้ำคั้น เป็นยาระบาย รับประทานกับพลู แก้ไอ ใบแก้ไข้
เหง้าสด รสฉุน เย็นจัด มีพิษมาก สารชื่อ diosgenin ใช้สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน กินมากทำให้อาเจียน ท้องร่วงรุนแรง และทำให้แท้ง
ในมาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ใช้หน่ออ่อนใส่แกง เป็นผัก

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์
ชื่ออื่นๆ :นมราชสีห์ ผักโขมแดง หญ้าน้ำหมึก
ชื่อสามัญ :Garden spurge, Asthma weed, Snake weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Euphobia hirta Linn.
วงศ์ :Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 - 40 ซม. ลำต้นมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อน มีน้ำยางขาวไหลซึมหากเกิดบาดแผล ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กว้าง 1.0 - 1.5 ซม. ยาว 2 - 4 ซม. ดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ใบประดับรูปถ้วยสีเขียวเข้ม ผลทรงกลมมี 3 พู เมื่อแก่สีเหลือง ผลแห้งแล้วแตก เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่หรือแดง
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ทั้งต้น (แห้ง) ชงกับน้ำร้อนดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะแดงหรือขุ่นข้น
ต้น (สด) ต้มน้ำดื่ม เพิ่มน้ำนมและฟอกน้ำนมให้สะอาด ระงับอาการชัก แก้ไอ แก้หืด รักษาบิดมูกเลือด
ราก แก้ไอ หมดสติ ลดไข้ รักษาโรคบิดมีตัว
เอกสารอ้างอิง :
1.http://dev.uru.ac.th/Botanical/detail.php?botany_id=7-53000-001-0268
2.http://www.doa.go.th/botany/euphorbia%20hirta.html
3.ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์. สยามไภษัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 2538
4.ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544

หญ้าพันงูขาว

หญ้าพันงูขาว
ชื่ออื่นๆ : หญ้าพันงู หญ้าพันงูเขา หญ้าตีนงูขาว ควยงู หญ้าโคยงู
ชื่อสามัญ : Prickly chaff-flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Achyranthes aspera Linn.
วงศ์ : Amaranthaceae
ถิ่นกำเนิด : -
ลักษณะพฤษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30 - 100 ซม. หรือมากกว่า แตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ และสามารถทอดกิ่งนอนไปตามพื้นดินแล้วเกิดรากบริเวณข้อได้ ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนานหรือไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลมถึงกลม โคนสอบแคบมน ผิวใบมีขนสั้นละเอียดสีขาวนุ่มเกาะติดจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเกาะติดห้อยหัวแนบกับก้านช่อ และมีจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงที่ส่วนปลายเป็นหนามแหลมแข็ง ผลมีผิวเรียบรูปทรงกระบอกปลายตัด เมล็ดรูปทรงกระบอกรีหัวและท้ายเรียว ผิวเรียบสีน้ำตาลเหลือง
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ทั้งต้น ช่วยย่อยอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดเอว แก้ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ
ราก ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง ลดบวมน้ำ ขับปัสสาวะเป็นเลือด แก้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ปวดข้อ บิด มาลาเรีย
ต้น ขับประจำเดือน แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ
ใบ แก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ แก้โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม
ดอก แก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก ละลายก้อนนิ่ว แก้สะอึก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
ผล ทำให้อาเจียน

กระชาย

กระชาย
ชื่ออื่นๆ : กระแอน  ขิงทราย  จี๊ปู  ซีฟู  เป๊าะซอเร้าะ  เป๊าะสี่  ระแอน  ว่านพระอาทิตย์
ชื่อสามัญ : Boesenbergia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้
ลักษณะพฤษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 80 ซม. ลำต้นใต้ดินหรือเสมอผิวดิน รากบางส่วนเปลี่ยนเป็นเหง้าสะสมอาหารกลมยาวสีน้ำตาลมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 - 2.0 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบแบบเวียนถี่รอบลำต้น ใบรูปรีแกมขอบขนาน และรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง ขอบใบเรียบ ก้านใบเป็นกาบสีแดงอ่อน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายโคนต้น ดอกย่อยสีขาวนวล และชมพูถึงม่วงแดง กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันส่วนปลายบานออกเป็นกลีบกลีบสั้นๆ
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
เหง้าสดและแห้ง ต้มน้ำดื่ม
น้ำมันจากเหง้า ทาถูแก้ปวดข้อ
เป็นยาขับลม แก้จุกเสียดปวดมวนในท้อง ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคกระเพาะ
รักษาแผลในปาก
แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
ใช้น้ำมันถูทาแก้อาการปวดข้อเข่า
ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย

ดอกพู่เรือหงส์

พู่เรือหงส์
ชื่ออื่นๆ : ชุมบาห้อย  พู่ระหง  หางหงส์
ชื่อสามัญ : Fringed hibiscus, Spider gumamela
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus schizopetalus (Dyer) Hook.f.
วงศ์ : Malvaceae
ถิ่นกำเนิด : -
ลักษณะพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มยืนต้น เปลือกต้นสีเหลือง แตกกิ่งก้านมากและมักโค้งลงสู่พื้นดิน กิ่งอ่อนสีเขียว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบเดี่ยวทรงรีสีเขียว ปลายแหลมมีติ่งหาง โคนมน ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ก้านใบสีเขียว ดอกออกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกห้อย ดอกมีหลายสี แดง ส้ม ชมพู กลีบดอก 5 กลีบ  ขอบกลีบหยักเว้าลึกเป็นริ้ว  ตัวกลีบโค้งงอขึ้นด้านบน  กลีบเลี้ยงสีเขียว  ก้านดอกสีเขียว ยาวประมาณ 8 ซม. ก้านชูเกสรยาวมาก เกสรตัวผู้เกาะติดที่ก้านชูเกสรหลัก ส่วนปลายเป็นเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 ก้าน ผล ยังไม่พบการติดผลที่ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม
การขยายพันธุ์ :
การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง
การปลูก :
ปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ เพื่อโชว์กิ่งและดอกที่ไหวพลิ้ว
ปลูกเป็นกลุ่มหลายๆ ต้น เป็นแปลงยาว ทรงกลม เป็นรั้ว โดยตัดแต่งกิ่งให้มีความสูงตามต้องการ
การดูแลรักษา :
ประดับตามมุมหรือขอบแนวอาคาร ในส่วนที่มีแสงแดดส่องเข้าถึงได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน
ปลูกประดับในสนามที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน
ปลูกในพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 60% และมีแสงแดดส่องเข้าถึงไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
การตัดแต่งกิ่ง  หากปลูกเพื่อให้ออกดอก ควรตัดบางกิ่งที่ไขว้ทับกันออกบ้าง หรือกิ่งที่ยาวเกินต้องการ  หากปลูกเป็นรั้ว ควรตัดแต่งกิ่งเป็นประจำหากมีกิ่งที่แตกใหม่โผล่พ้นแนวที่ต้องการมากๆ
รดน้ำให้บ้าง เดือนละครั้ง หรือเมื่อพืชแสดงอาการเหี่ยวจนเกินไป
การใช้ประโยชน์ด้าน :
ภูมิสถาปัตย์
ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวพลิ้วเบา แบบสบายๆ
ให้ความรู้สึกเป็นแนวบังสายตาสีเขียวที่แข็งแรง

กล้วยไม้

กล้วย ไม้ เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมาก วิมานน้ำรีสอร์ท ของเราก็มีกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์เช่นกัน อาทิเช่น ช้างแดง แวนด้า เอื้องคำ สามปอย เป็นต้น เราเอาชื่อกล้วยไม้มาตั้งเป็นชื่อบ้านพักแต่ละหลังด้วย เพื่อให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบของรีสอร์ท ที่มีทั้งภูเขาและแม่น้ำ

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่นๆ : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ยว  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง  ส้มปู  ส้มพอ
ชื่อสามัญ : Jamaica sorrel, Roselle, Red sorrel, Rozelle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
วงศ์ : Malvaceae
ถิ่นกำเนิด : -
ลักษณะพฤษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 - 3 ม. เปลือกต้นสีเทาปนแดงเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปแบบนิ้วมือ ขนาดประมาณ 3x7 ซม. โดยใบหยักลึก 3 - 5 ปลายยอดแหลม โคนใบมนกว้าง ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อย ก้านใบสีแดงยาว ดอกออกเดี่ยวเป็นกระจุก 1 - 3 ดอกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีขาวนวล และชมพูแดง กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นอิสระจากกัน กลีบเลี้ยงสีแดงสด แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในมีเนื้อกลีบส่วนโคนเชื่อมติดกัน กลีบชั้นนอกเรียวแหลม 8 - 12 กลีบ ผลทรงกลมปลายแหลม ผิวผลมีขนขนาดเล็กสีขาวเกาะติดหนาแน่น เมล็ดทรงกลม สีน้ำตาลดำ มีจำนวนมาก
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
กลีบเลี้ยงของดอก ต้มน้ำดื่ม
ใบและยอดอ่อน เป็นเครื่องปรุงให้รสเปรี้ยว และรับประทานสด
เมล็ด เป็นยาบำรุงกำลัง ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลข้างเคียง ลดอุณหภูมิในร่างกาย
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง บำรุงโลหิต
แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ
แก้ปัสสาวะขัด
แก้คอแห้งกระหายน้ำ กัดเสมหะ แก้ไอ