วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ต้นกระเพรา

กระเพรา
ชื่ออื่นๆ :กระเพราแดง  กระเพราขาว  ก่ำก้อขาว  ก่ำก้อดำ  กอมก้อขาว  กอมก้อดำ  ห่อตูปลู  ห่อกวอซู
ชื่อสามัญ :Ocimum
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ocimum sanctum Linn.
วงศ์ :Labiatae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุกอายุยืน แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 30 - 80 ซม. โคนลำต้นมีเนื้อไม้แข็ง กิ่งอ่อนสีเขียวและมีขน  ใบเป็น ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ทรงใบรูปรี ขนาดประมาณ 2X4 ซม. ปลายและโคนใบมนแหลม ขอบใบเป็นจักรและเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ที่ปลายยอด ยาวประมาณ 8 - 10 ซม.  ดอกย่อย มีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.  ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก  เมล็ด ขนาดเล็ก รูปไข่สีน้ำตาลดำ
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ บำรุงธาตุไฟ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ต้นโคกกระออม

โคกกระออม
ชื่ออื่นๆ :โพออม  ลูบลีบเครือ  วีวี
ชื่อสามัญ :Ballon vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cardiospermum halicacabum L.
วงศ์ :Sapindaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้เถาเลื้อยพันโดยใช้หนวดเกาะกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกล้ๆ สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 ม. ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปใบหอก ปลายแหลมโคนมน ขอบใบเป็นจัก ผิวใบทั้งสองด้านมีขนขนาดเล็กสั้นสีขาวเกาะติดกระจายห่าง ดอกออกเป็นช่อ ดอกสมบูรณ์เพศสีขาว ผลรูปสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนผิวเป็นลายเส้น ด้านในกลวง เมื่อสุกผิวผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลและแฟบลง เมล็ดมี 3 เมล็ด ทรงกลม เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ แก้หืด ขับปัสสาวะ น้ำคั้นจากใบสด ขับระดู แก้ไอ
เถา แก้ไข้
ดอก ขับประจำเดือน
ผล ตำพอกดับพิษไฟลวก
ทั้งต้น แก้โรคไขข้ออักเสบ

ดอกโคกกระสุน

โคกกระสุน
ชื่ออื่นๆ :หนามกระสุน
ชื่อสามัญ :Caltrops
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Tribulus cistoides Linn.
วงศ์ :Zygophyllaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุกเป็นเถาเลื้อยคลุมดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ใบย่อยออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ 5 - 7 คู่ ใบย่อยรูปทรงขอบขนาน ขนาดประมาณ 2.5x6.8 ซม. ปลายใบแหลมมน โคนกลมมนมีเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกออกที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองสด กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ก้านดอกยาว 5 - 10 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกลมมี 4 พู ผิวเป็นหนามแหลมทั้งหมด ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก ทรงกลมเปลือกผลหนาแข็งเป็นหนามแหลม ใน 1 พู มี 2 - 5 เมล็ด
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ผลแห้ง ต้ม ดื่มน้ำ ทำเป็นยาบำรุงตับ ไต กระดูก สายตา แก้ปวดทางเดินปัสสาวะ รักษาหนองใน ขับระดูขาว ช่วยให้คลอดบุตรง่าย ลดความดันโลหิตสูง และช่วยป้องกันอาการชักบางประเภทได้

ลิ้นกระบือ

ลิ้นกระบือ
ชื่ออื่นๆ :กะเบือ กำลังกระบือ
ชื่อสามัญ :Picara
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Excoecaria cochinchinensis Lour.
วงศ์ :Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 - 1.5 ม. แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมนแหลมโคนเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนด้านใต้สีแดง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและแยกเพศ ดอกเป็นเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมียมีเพียง 2 - 3 ดอก ผลทรงกลมมี 3 พู เมื่อแก่จะแห้งแล้วแตกตามพู
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ใบ ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำกิน เป็นยาขับเลือดและน้ำคาวปลาหลังคลอด ประจำเดือนไม่ปกติ แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับโลหิตร้าย แก้สันนิบาตเลือด

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ
ชื่ออื่นๆ :มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว
ชื่อสามัญ :Tamalaki, Hazardana
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllanthus amarus Schum & Thonn.
วงศ์ :Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 ซม. ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.4X1.0 ซม. ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 ซม. ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 ซม. เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.1 ซม.
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ทั้งต้น ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้ทับระดู ไข้จับสั่น) ขับระดูขาว แก้น้ำดีพิการ แก้ดีซ่าน แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้กามโรค แก้ปวดฝี ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย
ต้น มีสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว แก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำบวม
ลูก (ผล) แก้ร้อนใน แก้ไข้
ราก ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง
ชื่ออื่นๆ :อังกาบ
ชื่อสามัญ :Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Trai-no, Toi ting
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ruellia tuberosa Linn.
วงศ์ :Acanthaceae
ถิ่นกำเนิด :-
ลักษณะพฤษศาสตร์ :พืชล้มลุกมีอายุยืน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 ซม. ใบเดี่ยวรูปรีและไข่กลับ การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นคู่สลับ ดอกออกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีม่วงน้ำเงิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 ซม. ผลเป็นฝัก เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มยาว 2 - 3 ซม. แห้งแล้วแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแบนมีจำนวนมาก ราก พองเป็นหัวสะสมอาหาร ปลายเรียวแหลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 5 - 10 ซม.
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
ราก ทำให้อาเจียน ใช้ดับพิษ แก้ปัสสาวะพิการ
เมล็ด ใช้พอกห้ามเลือด ผื่นคัน

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา
ชื่ออื่นๆ :ชู้ไลบ้อง  ซูเลโบ  เอื้องช้าง  เอื้องต้น  เอื้องเพ็ดม้า  เอื้องใหญ่
ชื่อสามัญ :Spiral flag, Wild ginger, Crepe ginger, Malay ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Costus speciosus Smith
วงศ์ :Zingiberaceae
ถิ่นกำเนิด :อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี
ลักษณะพฤษศาสตร์ :เป็นพืชมีหัวใต้ดิน ลำต้นแข็งกลมอวบน้ำสูงประมาณ 1.5 - 2.5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยวเกาะติดบนกิ่งแบบเวียน  ใบรูปรียาว  ปลายใบเรียวแหลมโคนมน  และมีกาบหุ้มรอบลำต้น  ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านใต้มีขนขนาดเล็กสีขาวอ่อนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ขอบกลีบย่นเป็นคลื่น กลีบประดับสีแดง ผลกลมรีรูปกระสวยส่วนปลายมีกลีบประดับติดอยู่ เมล็ดรูปเหลี่ยมสีดำเป็นมันเงา
สรรพคุณด้านสมุนไพร :
เหง้า ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง
ราก เป็นยาขม ขับเสมหะ พยาธิ โรคผิวหนัง แก้ไอ
น้ำคั้น เป็นยาระบาย รับประทานกับพลู แก้ไอ ใบแก้ไข้
เหง้าสด รสฉุน เย็นจัด มีพิษมาก สารชื่อ diosgenin ใช้สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน กินมากทำให้อาเจียน ท้องร่วงรุนแรง และทำให้แท้ง
ในมาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ใช้หน่ออ่อนใส่แกง เป็นผัก