พู่เรือหงส์ |
ชื่ออื่นๆ : |
ชุมบาห้อย พู่ระหง หางหงส์ |
ชื่อสามัญ : |
Fringed hibiscus, Spider gumamela |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Hibiscus schizopetalus (Dyer) Hook.f. |
วงศ์ : |
Malvaceae |
ถิ่นกำเนิด : |
- |
ลักษณะพฤกษศาสตร์ : |
เป็นไม้พุ่มยืนต้น เปลือกต้นสีเหลือง
แตกกิ่งก้านมากและมักโค้งลงสู่พื้นดิน กิ่งอ่อนสีเขียว
การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบเดี่ยวทรงรีสีเขียว ปลายแหลมมีติ่งหาง
โคนมน ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ก้านใบสีเขียว ดอกออกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง
ดอกห้อย ดอกมีหลายสี แดง ส้ม ชมพู กลีบดอก 5 กลีบ
ขอบกลีบหยักเว้าลึกเป็นริ้ว ตัวกลีบโค้งงอขึ้นด้านบน กลีบเลี้ยงสีเขียว
ก้านดอกสีเขียว ยาวประมาณ 8 ซม. ก้านชูเกสรยาวมาก
เกสรตัวผู้เกาะติดที่ก้านชูเกสรหลัก ส่วนปลายเป็นเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 ก้าน
ผล ยังไม่พบการติดผลที่ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม |
การขยายพันธุ์ : |
|
การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง |
|
การปลูก : |
|
ปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ เพื่อโชว์กิ่งและดอกที่ไหวพลิ้ว |
|
ปลูกเป็นกลุ่มหลายๆ ต้น เป็นแปลงยาว ทรงกลม เป็นรั้ว โดยตัดแต่งกิ่งให้มีความสูงตามต้องการ |
|
การดูแลรักษา : |
|
ประดับตามมุมหรือขอบแนวอาคาร ในส่วนที่มีแสงแดดส่องเข้าถึงได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน |
|
ปลูกประดับในสนามที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน |
|
ปลูกในพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 60% และมีแสงแดดส่องเข้าถึงไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน |
|
การตัดแต่งกิ่ง หากปลูกเพื่อให้ออกดอก
ควรตัดบางกิ่งที่ไขว้ทับกันออกบ้าง หรือกิ่งที่ยาวเกินต้องการ
หากปลูกเป็นรั้ว
ควรตัดแต่งกิ่งเป็นประจำหากมีกิ่งที่แตกใหม่โผล่พ้นแนวที่ต้องการมากๆ |
|
รดน้ำให้บ้าง เดือนละครั้ง หรือเมื่อพืชแสดงอาการเหี่ยวจนเกินไป |
|
การใช้ประโยชน์ด้าน : ภูมิสถาปัตย์ |
|
ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวพลิ้วเบา แบบสบายๆ |
|
ให้ความรู้สึกเป็นแนวบังสายตาสีเขียวที่แข็งแรง |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น