วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ต้นดอกกระดังงาไทย

ชื่ออื่นๆ : กระดังงา (ตรัง ยะลา)  กระดังงาใบใหญ่  กระดังงาใหญ่ (กลาง)  สะบันงา  สะบันงาต้น (เหนือ)
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang tree, Ilang-ilang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et Thomson var. ordorata
วงศ์ : Annonaceae
ถิ่นกำเนิด : ไทย
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง - ใหญ่  พุ่มโปร่ง
ฤดูการออกดอก : ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม : หอมแรงช่วงพลบค่ำ
การขยายพันธุ์ :
การตอนกิ่ง สามารถทำได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากิ่งเปราะ หักง่าย
การเพาะเมล็ด ทำได้ง่าย เป็นวิธีที่นิยมกันมาก
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก เหมาะที่จะปลูกใกล้ๆ บ้าน
มีความทนทานกับสภาพแวดล้อมได้ดีและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่สามารถปลูกเลี้ยงได้ไม่ยากนัก เหมาะกับผู้ที่เริ่มปลูกพันธุ์ไม้หอมมือใหม่
ราคาของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไม่แพง เพราะมีการปลูกกันมานานแล้ว
ข้อแนะนำ :
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการปลูกมาก ประมาณ 16 ตรม. และต้องการแดดจัด การปลูกในที่ร่มจะมีผลต่อการติดดอกออกผล ที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ ต้นที่มีร่มเงาของไม้หอมชนิดอื่นๆ มีใบและลำต้นสวยงามกว่าต้นที่อยู่กลางแจ้ง แต่ไม่พบการติดดอกออกผล
กระดังงาไทยที่ได้จากการเพาะเมล็ดเมื่อปลูกจะเจริญเติบโตเร็วมาก ที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ เมื่อปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 ม. จึงจะออกดอก
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ส่งกลิ่นหอมแรง การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้บริเวณต้นทางที่ลมพัดผ่าน จะทำให้ผู้ปลูกได้สัมผัสกับกลิ่นของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้โดยตรง
ตำรายาไทยใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในเกสรทั้งเจ็ด คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม  มีการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยดอกมีฤทธิ์ไล่แมลงบางชนิด Traditional Use  Leaf and wood: diuretic
สารสำคัญ : น้ำมันหอมที่สกัดได้จากดอกเรียกว่า Cananga oil หรือ Ylang-ylang oil ประกอบด้วย Caryophyllene, Benzyl acetate, Benzyl alcohol, Farnesol, Terpineol, Borneol, Geranyl acetate, Safrol, Linalol, Limonene, Methyl salicylate เป็นต้น
สรรพคุณ : น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอก ใช้ในทางยา เป็น Aromatherapy สำหรับเป็นยาฆ่าเชื้อโรค แก้อาการซึมเศร้า แก้อาการกระวนกระวาย ช่วยสงบประสาท บำรุงประสาท ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ขับลม แก้หืดหอบ และยังใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ทำเครื่องหอมต่างๆ กระดังงาสกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis
สรรพคุณของกระดังงาไทยแบ่งตามส่วนต่างๆ มีดังนี้
เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
ดอก รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
น้ำมันหอม ใช้ปรุงน้ำหอม ปรุงขนมและอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น