สุพรรณิการ์ (ดอกซ้อน) |
ชื่ออื่นๆ : |
ฝ้ายคำ |
ชื่อสามัญ : |
Yellow silk, Cotton tree, Butter-Cup (Double), Torchwood |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg. |
วงศ์ : |
Cochlospermaceae |
ถิ่นกำเนิด : |
อเมริกาใต้ |
ลักษณะทั่วไป : |
ไม้ประดับยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 - 15 ม. ทรงพุ่มไม่แน่นอน |
ฤดูการออกดอก : |
ในรอบปีที่ผ่านมาออกดอกเดือน ม.ค. - ก.พ. |
การขยายพันธุ์ : |
|
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้ (ยังไม่มีข้อมูลในการปฏิบัติ) |
|
การปักชำ กิ่งที่ใช้ปักชำควรมีสีน้ำตาล ใช้เวลาปักชำ 2 - 3 เดือน นำไปปลูกได้ |
|
การตอน ทำในฤดูฝน กิ่งที่ใช้ควรมีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลา 1 - 2 เดือน จึงออกราก |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : |
|
ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น เมื่อใกล้ออกดอก ใบส่วนใหญ่จะร่วงเกือบทั้งหมด |
|
ข้อแนะนำ : |
|
ไม่ทนทานต่อการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง |
|
เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีกิ่งเปราะ หักง่าย เมื่อโดนลมแรง |
|
ข้อมูลอื่นๆ : |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542 ปลูกที่บริเวณหน้าอาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช |
|
ยาง จากต้นให้ผลิตผลเป็น Karaya gum
หรือทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนผลึกสีเหลืองอ่อน
หรือน้ำตาลอมชมพู ใช้เป็นยาระบาย เป็นส่วนผสมในน้ำยาเซทผม เป็นยาทาบำรุงผิว
ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
ผสมไอศกรีมทำให้ข้น |
|
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก |
|
เนื้อไม้ ต้มกับแป้งเป็นอาหาร |
|
ใบอ่อน ใช้สระผม |
|
ดอกแห้งและใบแห้ง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น