กระทุ่มนา |
ชื่ออื่นๆ : |
กระทุ่มดง (กาญจนบุรี) กระทุ่มนา กระทุ่มน้ำ (กลาง) กาตูม
(เขมร-ปราจีนบุรี) ตำ (เขมร-สุรินทร์) ตุ้มแซะ ตุ้มน้อย ตุ้มน้ำ (เหนือ)
ถ่มพาย (เลย) ท่อมขี้หมู (สงขลา) ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี) โทมน้อย
(เพชรบูรณ์) กระท่อมขี้หมู |
ชื่อสามัญ : |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Mitragyna diversifolia Wall. Ex. G. Don. |
วงศ์ : |
Rubiaceae |
ถิ่นกำเนิด : |
ไทย อินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย |
ลักษณะทั่วไป : |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ ทรงพุ่มกลมคล้ายเห็ดใกล้บาน แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น |
ฤดูการออกดอก : |
ในรอบปีที่ผ่านมาที่สวนไม้หอมฯ ออกดอก มิ.ย. - ก.ค. ดอกทยอยบานกระจายทั่วต้น |
เวลาที่ดอกหอม : |
กลิ่นหอมอ่อนตลอดวัน |
การขยายพันธุ์ : |
|
เพาะเมล็ด สามารถทำได้แต่ใช้เวลานานกว่าการตอนกว่าจะได้เห็นดอก แต่ก็มีข้อดีที่มีระบบรากแก้วที่แข็งแรงกว่าและทรงต้นที่สวยกว่า |
|
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายที่สุด จากการทดลองอัตราการออกรากสูงมาก 80 - 100% |
|
ปักชำ ยังไม่มีข้อมูล |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : |
|
สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่ชายน้ำ |
|
ทรงพุ่มสวยงามโดยไม่ต้องมีการตัดแต่ง |
|
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน (3 ปีย้อนหลังไม่พบการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช) |
|
ข้อแนะนำ : |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการเจริญเติบโตมาก ผู้รวบรวมเคยพบที่สมุทรสงคราม รัศมีทรงพุ่มไม่ต่ำกว่า 5 ม. สูงกว่า 10 ม. |
|
การปลูกบริเวณพื้นที่ริมน้ำจะเจริญเติบโตได้ดีมาก |
|
การปลูกในที่มีแดดไม่พอเพียงจะทำให้ได้ต้นที่มีทรงพุ่มไม่สวยงาม |
|
ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจมีไม่มาก แต่ในด้านการอนุรักษ์ก็ไม่ควรมองข้ามเนื่องจากไม้ชนิดนี้กำลังลดปริมาณลงเรื่อยๆ |
|
ผู้ที่สนใจเริ่มปลูกไม้หอมและดินที่ปลูกไม่ดีนักและมีน้ำเพียงพอก็
สามารถปลูกได้
แต่ไม่ควรปลูกมากเนื่องจากเป็นไม้หอมที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ |
|
ข้อมูลอื่นๆ : |
|
ใบ เมื่อเคี้ยวมีรสขม มีอัลคาลอยด์หลายชนิด ช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดประสาทและกล้ามเนื้อในสัตว์ทดลอง |
|
เปลือกต้น รสฝานร้อน รักษาโรคผิวหนังทุกชนิด แก้มะเร็งคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น