กระเพรา | |||||||
ชื่ออื่นๆ : | กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ ห่อตูปลู ห่อกวอซู | ||||||
ชื่อสามัญ : | Ocimum | ||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Ocimum sanctum Linn. | ||||||
วงศ์ : | Labiatae | ||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุกอายุยืน แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 30 - 80 ซม. โคนลำต้นมีเนื้อไม้แข็ง กิ่งอ่อนสีเขียวและมีขน ใบเป็น ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ทรงใบรูปรี ขนาดประมาณ 2X4 ซม. ปลายและโคนใบมนแหลม ขอบใบเป็นจักรและเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ที่ปลายยอด ยาวประมาณ 8 - 10 ซม. ดอกย่อย มีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม. ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก เมล็ด ขนาดเล็ก รูปไข่สีน้ำตาลดำ | ||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ต้นกระเพรา
ต้นโคกกระออม
โคกกระออม | |||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | โพออม ลูบลีบเครือ วีวี | ||||||||||
ชื่อสามัญ : | Ballon vine | ||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Cardiospermum halicacabum L. | ||||||||||
วงศ์ : | Sapindaceae | ||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้เถาเลื้อยพันโดยใช้หนวดเกาะกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกล้ๆ สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 ม. ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปใบหอก ปลายแหลมโคนมน ขอบใบเป็นจัก ผิวใบทั้งสองด้านมีขนขนาดเล็กสั้นสีขาวเกาะติดกระจายห่าง ดอกออกเป็นช่อ ดอกสมบูรณ์เพศสีขาว ผลรูปสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนผิวเป็นลายเส้น ด้านในกลวง เมื่อสุกผิวผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลและแฟบลง เมล็ดมี 3 เมล็ด ทรงกลม เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ | ||||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
ดอกโคกกระสุน
โคกกระสุน | |||
ชื่ออื่นๆ : | หนามกระสุน | ||
ชื่อสามัญ : | Caltrops | ||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Tribulus cistoides Linn. | ||
วงศ์ : | Zygophyllaceae | ||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุกเป็นเถาเลื้อยคลุมดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ใบย่อยออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ 5 - 7 คู่ ใบย่อยรูปทรงขอบขนาน ขนาดประมาณ 2.5x6.8 ซม. ปลายใบแหลมมน โคนกลมมนมีเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกออกที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองสด กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ก้านดอกยาว 5 - 10 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกลมมี 4 พู ผิวเป็นหนามแหลมทั้งหมด ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก ทรงกลมเปลือกผลหนาแข็งเป็นหนามแหลม ใน 1 พู มี 2 - 5 เมล็ด | ||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
ลิ้นกระบือ
ลิ้นกระบือ | |||
ชื่ออื่นๆ : | กะเบือ กำลังกระบือ | ||
ชื่อสามัญ : | Picara | ||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Excoecaria cochinchinensis Lour. | ||
วงศ์ : | Euphorbiaceae | ||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 - 1.5 ม. แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมนแหลมโคนเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนด้านใต้สีแดง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและแยกเพศ ดอกเป็นเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมียมีเพียง 2 - 3 ดอก ผลทรงกลมมี 3 พู เมื่อแก่จะแห้งแล้วแตกตามพู | ||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
ลูกใต้ใบ
ลูกใต้ใบ | |||||||||
ชื่ออื่นๆ : | มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว | ||||||||
ชื่อสามัญ : | Tamalaki, Hazardana | ||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Phyllanthus amarus Schum & Thonn. | ||||||||
วงศ์ : | Euphorbiaceae | ||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 ซม. ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.4X1.0 ซม. ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 ซม. ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 ซม. เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.1 ซม. | ||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
ต้อยติ่ง
ต้อยติ่ง | |||||
ชื่ออื่นๆ : | อังกาบ | ||||
ชื่อสามัญ : | Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Trai-no, Toi ting | ||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Ruellia tuberosa Linn. | ||||
วงศ์ : | Acanthaceae | ||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | พืชล้มลุกมีอายุยืน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 ซม. ใบเดี่ยวรูปรีและไข่กลับ การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นคู่สลับ ดอกออกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีม่วงน้ำเงิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 ซม. ผลเป็นฝัก เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มยาว 2 - 3 ซม. แห้งแล้วแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแบนมีจำนวนมาก ราก พองเป็นหัวสะสมอาหาร ปลายเรียวแหลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 5 - 10 ซม. | ||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
เอื้องหมายนา
เอื้องหมายนา | |||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | ชู้ไลบ้อง ซูเลโบ เอื้องช้าง เอื้องต้น เอื้องเพ็ดม้า เอื้องใหญ่ | ||||||||||
ชื่อสามัญ : | Spiral flag, Wild ginger, Crepe ginger, Malay ginger | ||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Costus speciosus Smith | ||||||||||
วงศ์ : | Zingiberaceae | ||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี | ||||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | เป็นพืชมีหัวใต้ดิน ลำต้นแข็งกลมอวบน้ำสูงประมาณ 1.5 - 2.5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยวเกาะติดบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปรียาว ปลายใบเรียวแหลมโคนมน และมีกาบหุ้มรอบลำต้น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านใต้มีขนขนาดเล็กสีขาวอ่อนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ขอบกลีบย่นเป็นคลื่น กลีบประดับสีแดง ผลกลมรีรูปกระสวยส่วนปลายมีกลีบประดับติดอยู่ เมล็ดรูปเหลี่ยมสีดำเป็นมันเงา | ||||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
น้ำนมราชสีห์
น้ำนมราชสีห์ | |||||||||
ชื่ออื่นๆ : | นมราชสีห์ ผักโขมแดง หญ้าน้ำหมึก | ||||||||
ชื่อสามัญ : | Garden spurge, Asthma weed, Snake weed | ||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Euphobia hirta Linn. | ||||||||
วงศ์ : | Euphorbiaceae | ||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 - 40 ซม. ลำต้นมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อน มีน้ำยางขาวไหลซึมหากเกิดบาดแผล ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กว้าง 1.0 - 1.5 ซม. ยาว 2 - 4 ซม. ดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ใบประดับรูปถ้วยสีเขียวเข้ม ผลทรงกลมมี 3 พู เมื่อแก่สีเหลือง ผลแห้งแล้วแตก เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่หรือแดง | ||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
| ||||||||
เอกสารอ้างอิง : |
|
หญ้าพันงูขาว
หญ้าพันงูขาว | |||||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | หญ้าพันงู หญ้าพันงูเขา หญ้าตีนงูขาว ควยงู หญ้าโคยงู | ||||||||||||
ชื่อสามัญ : | Prickly chaff-flower | ||||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Achyranthes aspera Linn. | ||||||||||||
วงศ์ : | Amaranthaceae | ||||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30 - 100 ซม. หรือมากกว่า แตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ และสามารถทอดกิ่งนอนไปตามพื้นดินแล้วเกิดรากบริเวณข้อได้ ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนานหรือไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลมถึงกลม โคนสอบแคบมน ผิวใบมีขนสั้นละเอียดสีขาวนุ่มเกาะติดจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเกาะติดห้อยหัวแนบกับก้านช่อ และมีจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงที่ส่วนปลายเป็นหนามแหลมแข็ง ผลมีผิวเรียบรูปทรงกระบอกปลายตัด เมล็ดรูปทรงกระบอกรีหัวและท้ายเรียว ผิวเรียบสีน้ำตาลเหลือง | ||||||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
กระชาย
กระชาย | |||||||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | กระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ ระแอน ว่านพระอาทิตย์ | ||||||||||||||
ชื่อสามัญ : | Boesenbergia | ||||||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf. | ||||||||||||||
วงศ์ : | Zingiberaceae | ||||||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ | ||||||||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 80 ซม. ลำต้นใต้ดินหรือเสมอผิวดิน รากบางส่วนเปลี่ยนเป็นเหง้าสะสมอาหารกลมยาวสีน้ำตาลมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 - 2.0 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบแบบเวียนถี่รอบลำต้น ใบรูปรีแกมขอบขนาน และรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง ขอบใบเรียบ ก้านใบเป็นกาบสีแดงอ่อน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายโคนต้น ดอกย่อยสีขาวนวล และชมพูถึงม่วงแดง กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันส่วนปลายบานออกเป็นกลีบกลีบสั้นๆ | ||||||||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
ดอกพู่เรือหงส์
พู่เรือหงส์ | |||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | ชุมบาห้อย พู่ระหง หางหงส์ | ||||||||||
ชื่อสามัญ : | Fringed hibiscus, Spider gumamela | ||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Hibiscus schizopetalus (Dyer) Hook.f. | ||||||||||
วงศ์ : | Malvaceae | ||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||||
ลักษณะพฤกษศาสตร์ : | เป็นไม้พุ่มยืนต้น เปลือกต้นสีเหลือง แตกกิ่งก้านมากและมักโค้งลงสู่พื้นดิน กิ่งอ่อนสีเขียว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบเดี่ยวทรงรีสีเขียว ปลายแหลมมีติ่งหาง โคนมน ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ก้านใบสีเขียว ดอกออกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกห้อย ดอกมีหลายสี แดง ส้ม ชมพู กลีบดอก 5 กลีบ ขอบกลีบหยักเว้าลึกเป็นริ้ว ตัวกลีบโค้งงอขึ้นด้านบน กลีบเลี้ยงสีเขียว ก้านดอกสีเขียว ยาวประมาณ 8 ซม. ก้านชูเกสรยาวมาก เกสรตัวผู้เกาะติดที่ก้านชูเกสรหลัก ส่วนปลายเป็นเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 ก้าน ผล ยังไม่พบการติดผลที่ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม | ||||||||||
การขยายพันธุ์ : |
|
||||||||||
การปลูก : |
|
||||||||||
การดูแลรักษา : |
|
||||||||||
การใช้ประโยชน์ด้าน : ภูมิสถาปัตย์ |
|
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง | |||||||||||||||||||
ชื่ออื่นๆ : | กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอ | ||||||||||||||||||
ชื่อสามัญ : | Jamaica sorrel, Roselle, Red sorrel, Rozelle | ||||||||||||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Hibiscus sabdariffa L. | ||||||||||||||||||
วงศ์ : | Malvaceae | ||||||||||||||||||
ถิ่นกำเนิด : | - | ||||||||||||||||||
ลักษณะพฤษศาสตร์ : | ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 - 3 ม. เปลือกต้นสีเทาปนแดงเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปแบบนิ้วมือ ขนาดประมาณ 3x7 ซม. โดยใบหยักลึก 3 - 5 ปลายยอดแหลม โคนใบมนกว้าง ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อย ก้านใบสีแดงยาว ดอกออกเดี่ยวเป็นกระจุก 1 - 3 ดอกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีขาวนวล และชมพูแดง กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นอิสระจากกัน กลีบเลี้ยงสีแดงสด แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในมีเนื้อกลีบส่วนโคนเชื่อมติดกัน กลีบชั้นนอกเรียวแหลม 8 - 12 กลีบ ผลทรงกลมปลายแหลม ผิวผลมีขนขนาดเล็กสีขาวเกาะติดหนาแน่น เมล็ดทรงกลม สีน้ำตาลดำ มีจำนวนมาก | ||||||||||||||||||
สรรพคุณด้านสมุนไพร : |
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)